ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย:
ศิลปศาสตรบัณฑิต (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา)
ภาษาอังกฤษ:
Bachelor of Arts Program in Southeast Asian Studies
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย):
ศิลปศาสตรบัณฑิต (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย):
ศศ.บ. (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ):
Bachelor of Arts Program in Southeast Asian Studies
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ):
B.A. (Southeast Asian Studies)
การรับเข้าศึกษา
การรับตรง จำนวนรับ 30 คน
Admission จำนวนรับ 10 คน
รวมทั้งสิ้น 40 คน
ปรัชญา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในมิติประวัติศาสตร์ ภาษา สังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา โดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวและสารคดีที่ถือเป็นจุดเน้นสำคัญของหลักสูตร ด้วยพื้นฐานความรู้เชิงบูรณาการ สื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพร้อมสำหรับการทำงานข้ามวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ เข้าใจในสถานการณ์ของโลกและสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและตลาดงานในระดับอาเซียน
คุณลักษณะเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ได้เปิดสอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งแต่ละหลักสูตรล้วนมีอัตลักษณ์ของตัวเอง เช่น ด้านภาษาอาเซียน ด้านประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบหลักสูตรใดที่เน้นการเรียนการสอนหรือมีอัตลักษณ์ที่เน้นไปทางประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวและสารคดี
ทางหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเห็นสมควรปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้มีอัตลักษณ์ของตนที่ชัดเจนขึ้น และตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและเศรษฐกิจที่การท่องเที่ยวยังคงเป็นอุตสาหกรรมสำคัญ และเป็นสาขาวิชาที่อาจารย์ในสาขามีความรู้และความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยให้หลักสูตรมีจุดแข็งและดึงดูดให้นักศึกษาสนใจมาเรียนมากยิ่งขึ้น
การปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรในครั้งนี้ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) จึงเน้นจุดเด่นหรือจุดแข็งของหลักสูตรในสามประการ (นอกเหนือจากความรู้เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในภาพรวมแล้ว) ได้แก่
1) ประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวและสารคดีรวมทั้งเน้นการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางใหม่ ที่เน้นการปฏิบัติ และกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบของ Active Learning และส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพทุกคน ผ่านการฝึกงานทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และ/หรือสหกิจศึกษา
2) ภาษาอาเซียน และ
3) ภาษาอังกฤษ
วัตถุประสงค์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
- มีความรู้ความเข้าใจด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในมิติต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ภาษา สังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา โดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวและสารคดี
- มีทักษะความสามารถในการบูรณาการความรู้และประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อปฏิบัติงานทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ในมิติประวัติศาสตร์ ภาษา สังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา โดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวและสารคดี
- มีทักษะการคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ การวิจัยและการแก้ไขปัญหา
- มีการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ ทักษะการเรียนรู้การทำงานข้ามวัฒนธรรม ทักษะความพร้อมด้านสังคมที่จำเป็นต่อการทำงาน และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางในการประกอบอาชีพ
- นักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา/อาเซียนศึกษา นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวและสารคดี ผู้ช่วยสอน/อาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน นักวิจัย นักเขียน นักวิจารณ์ บรรณาธิการ นักสารสนเทศ ผู้สื่อข่าว
- ผู้ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวและสารคดี เช่น มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว ผู้ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและสารคดี ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน นักเขียนอิสระ ยูทูปเบอร์ บล็อกเกอร์
- เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน เช่น กระทรวง องค์การมหาชนที่เกี่ยวข้องกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต/สถานกงสุลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทท่องเที่ยว สายการบิน องค์กรพัฒนาเอกชน
โครงสร้างหลักสูตร 129 หน่วยกิต
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
2.1 วิชาบังคับ 60 หน่วยกิต
2.2 วิชาบังคับเลือก 27 หน่วยกิต
2.3 วิชาเลือก 6 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
2.1 วิชาบังคับ 60 หน่วยกิต
2.2 วิชาบังคับเลือก 27 หน่วยกิต
2.3 วิชาเลือก 6 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ หรือวิชาบังคับ
(1) หมวดวิชาบังคับภาษาอังกฤษ
นอกเหนือจากวิชาภาษาอังกฤษในหมวดศึกษาทั่วไปที่นักศึกษาต้องเรียน 4 รายวิชา (ภาษาอังกฤษ 1-4 ) นักศึกษายังต้องเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษบังคับดังนี้
(1) หมวดวิชาบังคับภาษาอังกฤษ
นอกเหนือจากวิชาภาษาอังกฤษในหมวดศึกษาทั่วไปที่นักศึกษาต้องเรียน 4 รายวิชา (ภาษาอังกฤษ 1-4 ) นักศึกษายังต้องเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษบังคับดังนี้
- การเขียนภาษาอังกฤษทางวิชาการ
- ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว
- การอภิปรายด้วยภาษาอังกฤษหัวข้อเกี่ยวกับอาเซียน
- ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 1
- ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2
- ภาษา ศาสนา และวรรณกรรม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- การผลิตสื่อเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- แนวคิดและทฤษฎีสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
- อาเซียน ชาติมหาอำนาจ และองค์กรระหว่างประเทศ
- พรมแดนและชายแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
- ประวัติศาสตร์และสารคดี
- มัคคุเทศก์ทางประวัติศาสตร์
- การเขียนและผลิตสารคดีทางประวัติศาสตร์
- ประเด็นสำคัญปัจจุบันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ปฏิบัติการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
- เอกัตศึกษาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
- การฝึกงานทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
หมวดวิชาบังคับเลือก 27 หน่วยกิต
(1) หมวดวิชาภาษาอาเซียน 12 หน่วยกิต
ให้นักศึกษาเลือกเรียนภาษาอาเซียน ภาษาใดภาษาหนึ่ง ระหว่างภาษาเวียดนาม หรือ บาฮาซา อินโดนีเซีย ไม่น้อยกว่า 4 รายวิชา รวม 12 หน่วยกิต
(2) หมวดวิชาโท 15 หน่วยกิต
ให้นักศึกษาเลือกเรียนวิชาโทเพียง 1 ชุดวิชาโท ที่เปิดสอนในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และวิชาโทสาขาอื่นๆ ที่จะเปิดเพิ่มเติมในภายหลัง โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
การดำเนินการศึกษา
ภาคการศึกษาต้น : เดือนสิงหาคม - เดือนธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย : เดือนมกราคม - เดือนพฤษภาคม
ภาคการศึกษาพิเศษ : เดือนมิถุนายน - เดือนกรกฎาคม (ถ้ามี)
(ค่าเล่าเรียนภาคปกติ เหมาจ่าย 10,000 บาท/เทอม)
ภาคการศึกษาต้น : เดือนสิงหาคม - เดือนธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย : เดือนมกราคม - เดือนพฤษภาคม
ภาคการศึกษาพิเศษ : เดือนมิถุนายน - เดือนกรกฎาคม (ถ้ามี)
(ค่าเล่าเรียนภาคปกติ เหมาจ่าย 10,000 บาท/เทอม)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานบริการการศึกษา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทรศัพท์ 0-4320-4537 เบอร์ภายใน 44569
http://www.huso.kku.ac.th
*หมายเหตุ*
ระเบียบการรับสมัครเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่ https://admissions.kku.ac.th/ หรือ ดาวน์โหลดไฟล์ pdf ได้ ที่นี่
...........................
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
No comments:
Post a Comment