โดย
1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ เอกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงศึกษา วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
3.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้นำและคณะทำงานของแต่ละมหาวิทยาลัยได้พบปะเพื่อปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมา เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขร่วมกันวางแผนเตรียมความพร้อม ก่อนการจัดกิจกรรมเครือข่ายอาณาบริเวณศึกษาด้านภูมิภาคอาเซียนครั้งที่ 7 ในครั้งต่อไป โดยสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ส่งตัวแทนนิสิต นักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 9 คน กิจกรรมในครั้งนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมและมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคณะทำงานของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นระหว่างการจัดงานมีทั้งกิจกรรมวิชาการและสันทนาการ ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกันในห้องประชุม และกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการในครั้งนี้
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสันทนาการละลายพฤติกรรม เพื่อให้นักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยมีความกล้าแสดงออก และสนิทกันมากขึ้น โดยเป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักศึกษาได้แสดงออกทั้งการเต้น การแสดงท่าทางต่างๆ การแนะนำชื่อ และร่วมกันรับประทานอาหาร
กิจกรรมที่ 3 ศึกษาด้านการเกษตรโดยการฟังบรรยายเรื่องเกษตรกรรมของประเทศไทย มีการฝึกเพาะกล้าและการดำนา ณ โรงเรียนข้าวและชาวนากรมการข้าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีชีวิต และเห็นคุณค่าของเกษตรกร ทั้งนี้ในกิจกรรมยังมีกิจกรรมสันทนาการ โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยให้อยู่รวมกัน ได้ทำความรู้จักกันผ่านการเล่นกิจกรรมตามล่าหาคำใบ้ ทำให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์และรู้จักกันมากขึ้น
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมวิชาการ เป็นกิจกรรมที่แต่ละมหาวิทยาลัยได้แสดงศักยภาพด้านวิชาการ และร่วมกันถกเถียงเพื่อกำหนดหัวข้องานวิชาการในการจัดกิจกรรมเครือข่ายอาณาบริเวณศึกษาด้านภูมิภาคอาเซียนครั้งที่ 7 ในโอกาสต่อไป
กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมสันทนาการ ณ สวนรถไฟ กรุงเทพมหานคร เป็นกิจกรรมที่แบ่งกลุ่มนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยให้อยู่รวมกัน โดยมีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำความรู้จักกัน รวมทั้งยังไ้ด้ร่วมกันแก้ปัญหา และสร้างความสามัคคีระหว่างกลุ่ม จากกิจกรรมนี้ทำให้นักศึกษาได้รู้จักและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนต่างมหาวิทยาลัยมากขึ้น
กิจกรรมที่ 6 งานปาตี้สังสรรค์ Pre Area 7th จัดขึ้นที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นกิจกรรมงานเลี้ยงและสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้แสดงออกทั้งการร้องเพลง การเต้น และการได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนๆต่างมหาวิทยาลัย
กิจกรรมที่ 7 การสรุปข้อดี ข้อเสีย ข้อเสนอแนะของโครงการ รวมทั้งสรุปหัวข้องานวิชาการ และร่วมกันกำหนดวันจัดกิจกรรมเครือข่ายอาณาบริเวณศึกษาด้านภูมิภาคอาเซียนครั้งที่ 7
จากการร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้นักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยได้ทำกิจกรรมร่วมกัน พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทำความรู้จักกันมากขึ้น ทั้งยังได้มีการแสดงศักยภาพทางด้านวิชาการ ซึ่งทำให้เกิดมิตรภาพความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษา รวมทั้งนักศึกษายังมีความกล้าคิด กล้าแสดงออก และมีเครือข่ายงานที่ดีในอนาคต
No comments:
Post a Comment