รายงานโดย
"คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัด “การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 15 ( The 15th International Conference on Humanities and Social Sciences ) IC-HUSO 2019 ” ระหว่างวันที่ 11 – 12 พฤศจิกายน 2562 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการในด้านงานวิจัย และเป็นเวทีให้กับนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันการศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป ได้เสนอผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระต่อสาธารณชน อันจะนำไปสู่การส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลงานวิชาการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป"
ในปีนี้ได้มีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เข้าร่วมนำเสนอบทความวิชาการจำนวน 6 คน ใน 6 บทความ ดังนี้
1. Laos in the travel Notes of Herbert Warington Smyth, (Five years in Siam, From 1891-1896) โดย นางสาวจารุวรรณ ทองเพชร
2. Constructing the Memory of Soekarno in Indonesian Social studies textbook โดยนางสาวปรมาภรณ์ แสงแก่นสาร
3. The Construction of Remembrance of Vietnamese Women Through the Southern Museum (Bảo Tàng Phụ Nữ Nam Bộ) โดยนางสาวกัญญาณัฐ โพธิ์คำ
4. Writing about Indonesia’s History during the Colonial Period inPrimary School Textbooks for Grade 5 โดยนางสาวจิราภรณ์ ทรงพระ
5. The Basic Plan of Nation in Indonesia Language Textbook Grade 1 โดยนางสาววรรษมล พันธ์สัมฤทธิ์
6. Images of Ho Chi Minh in Siam from 1928 to 1930 through BácHồ ở Thái Lan (Ho Chi Minh in Thailand) โดยนางสาวฐิตินันท์ อ่องพิมายห้องสัมมนาที่ 9
ในเวลา 9:00 น. กล่าวเปิดงานโดย ผศ.ดร.ธนนันท์ บุ่นวรรณา และมี อ.ดร.มนต์ชัย ผ่องศิริ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นผู้ร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานในครั้งนี้ โดยการนำเสนองานแรกเริ่มจากงาน Laos in the travel Notes of Herbert WaringtonSmyth, (Five years in Siam, From 1891-1896) โดย นางสาวจารุวรรณทองเพชร, Constructing the Memory of Soekarno in Indonesian Social studies textbook โดยนางสาวปรมาภรณ์ แสงแก่นสาร, The Construction of Remembrance of Vietnamese Women Through the Southern Museum (Bảo Tàng Phụ Nữ Nam Bộ) โดยนางสาวกัญญาณัฐ โพธิ์คำ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 และปิดท้ายด้วยเรื่อง Vietnam in the Views of Chinese Analyzed in the Book, “1979 对越战争亲历记" โดย Zhiwan Dong, Ningrong yang นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษา
หลังจากการนำเสนอผลงานทั้ง 4 ผลงานแล้ว ทางนักศึกษาได้รับเกียรติจาก อ.ดร.มนต์ชัย ผ่องศิริ ในการให้คำแนะนำเพื่อนำไปต่อยอดผลงานต่อไปในอนาคต
ห้องสัมมนาที่ 10
การนำเสนอผลงานเริ่มต้นขึ้นในเวลา 9.00 โดยมีอาจารย์ ดร.จิราธร ชาติศิริเป็นผู้ดำเนินรายการประจำห้อง โดยในการนำเสนองานในห้องนี้มีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาเข้าร่วมนำเสนอบทความจำนวน 3 เรื่อง ดังนี้
เริ่มต้นจากผลงาน เรื่อง Primary Surveys on Border Management inThailand from 2008 to 2019 โดยพิษณุวัฒน์ ยาพรม นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษา
ถัดมาคือผลงาน เรื่อง Writing about Indonesia’s History during the Colonial Period in Primary School Textbooks for Grade 5 โดยนางสาวจิราภรณ์ ทรงพระ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ชาติอินโดนิเซียในช่วงตกเป็นอาณานิคมในหนังสือแบบเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์หนังสือแบบเรียนวิชาสังคมศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นหลัก จากการศึกษาพบว่าเนื้อหาในแบบเรียนเน้นการนำเสนอภาพด้านลบของเนเธอร์แลนด์ทั้งในเรื่องการกดขี่ การเอารัดเอาเปรียบ และพูดถึงภาพด้านบวกคือการยกย่อง Douwes Dekker ว่าเป็นผู้ยกเลิกระบบการเพาะปลูกที่กดขี่ชาวอินโดนิเซีย
รวมทั้งผลงาน เรื่อง The Basic Plan of Nation in Indonesia Language Textbook Grade 1 โดยนางสาววรรษมล พันธ์สัมฤทธิ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางรากฐานเยาวชนแห่งชาติในหนังสือแบบเรียนภาษาอินโดนิเซีย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การวิเคราะห์หนังสือแบบเรียนวิชาสังคมศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นหลัก จากการศึกษาพบว่าจากหนังสือแบบเรียนเล่มนี้ได้วางรากฐานเกี่ยวกับครอบครัวมากที่สุด รวมถึงการปลูกฝังการแบ่งงานตามเพศ มุ่งเน้นให้นักเรียนรู้จักรักตัวเอง เพื่อน ครอบครัว ประเทศชาติ อีกทั้งยังสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมโดยเน้นย้ำให้มีความซื่อสัตย์ มีจิตใจเมตตา รักษาความสะอาดของร่างกายและดูแลสิ่งแวดล้อม
สุดท้ายผลงาน เรื่อง Images of Ho Chi Minh in Siam from 1928 to 1930 through Bác Hồ ở Thái Lan (Ho Chi Minh in Thailand) โดยนางสาวฐิตินันท์ อ่องพิมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพของโฮจิมินห์ในสยาม ช่วงปีค.ศ.1928-1930 มองผ่านหนังสือ “Bác Hồ ở Thái Lan (ลุงโฮในประเทศไทย)” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์หนังสือ “Bác Hồ ở Thái Lan” เป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า ภาพของโฮจิมินห์ในสยาม ช่วงปีค.ศ.1928-1930 มองผ่านหนังสือ “Bác Hồ ở Thái Lan” แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม
1.ภาพของโฮจิมินห์ในสยามช่วงปี 1928-1930 ผ่านงานเขียนของโฮจิมินห์ พบภาพโฮจิมินห์ 3 ลักษณะ คือ ความประทับใจต่อชาวสยาม การจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามในปีค.ศ.1930 และการเป็นผู้รับผิดชอบดูแลอินโดจีน
2.ภาพของโฮจิมินห์ในสยามช่วงปี 1928-1930 ผ่านงานเขียนของผู้ที่เคยร่วมงานกับโฮจิมินห์ทั้งในสยามและเวียดนาม พบภาพโฮจิมินห์ 4 ลักษณะ คือ ความสามารถในการใช้คำพูด การเป็นกวีนิพนธ์ บุคลิกลักษณะทางบวก และภาวะผู้นำของโฮจิมินห์
3.ภาพของโฮจิมินห์ในสยามช่วงปี 1928-1930 ผ่านงานเขียนลูกหลานของผู้เคยร่วมเคลื่อนไหวกับโฮจิมินห์ในสยามและบุคคลทั่วไป พบภาพโฮจิมินห์ 2 ลักษณะ คือ ผู้ที่มีอารมณ์ละเอียดอ่อนและผู้ผสมผสานการแพทย์ตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน
หลังจากการนำเสนอผลงานเสร็จแล้ว ทางนักศึกษาได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ศาสตราจารย์ สุวิทย์ ธีรศาศวัต ในการให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปต่อยอดผลงานต่อไปในอนาคต
จากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ถือว่าเป็นโอกาสอันดีที่ให้นักศึกษาในการแสดงศักยภาพทางวิชาการ รวมทั้งรับฟังผลงานจากนักวิชาการอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทั้งในเชิงลึกและในเชิงกว้างต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสดีที่ได้พบปะนักวิชาการชาวต่างประเทศที่มาเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
No comments:
Post a Comment