โดย อัครเดช โคตนายูง
"การบรรยายพิเศษ เรื่อง นโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านในยุคสงครามเย็น โดย นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอคอัครราชทูตไทย และนักวิจัยดีเด่น สกว.ปี 2559 ในวันที่ 29 มกราคม 2561 ระหว่างเวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม 3 อาคาร HS.05 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข. ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือของฝ่ายต่างๆ ได้แก่ ฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ แะศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง"ในช่วงเริ่มต้นการบรรยาย วิทยากรได้อธิบายถึงความหมายของคำว่า ความสัมพันท์ระหว่างประเทศไว้ว่า… ความสัมพันท์ระหว่างประเทศ หมายถึง ความร่วมมือระหว่างประเทศ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นความร่วมมือไปซะทีเดียว ความสัมพันท์ระหว่างประเทศ อาจจะเป็นความขัดแย้งด้วย ซึ่งความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศ ไม่ได้จำเพาะเจาะจงแค่ด้านใดด้านหนึ่ง แต่รวมไปถึงทุกๆด้านในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ
และมีตัวชี้วัดที่สามารถบ่งบอกได้ว่า ในความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ กำลังมีความร่วมมือ หรือขัดแย้งกันนั้น ให้ดูจากผลประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายพึงจะได้รับจากอีกประเทศหนึ่ง ถ้าผลประโยชน์ลงรอยกัน และเป็นไปด้วยดี นั่นแปลว่า สองประเทศนี้กำลังมีความร่วมมือระหว่างประเทศในเชิงร่วมมือกัน แต่ถ้าผลประโยชน์เป็นตรงกันข้าม หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ ก็จะเป็นความสัมพันท์แบบความขัดแย้งซึ่งกันและกัน
จะเห็นได้ว่า ผลประโยชน์เป็นสิ่งสำคัญมาก ในเรื่องการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดก็ตาม ซึ่งผลประโยชน์มีหลายด้าน เช่น การเมือง เศรษฐกิจ แต่สิ่งเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสิ้น แต่ผลประโยชน์ที่ทุกประเทศต้องการสูงสุด คือ ผลประโยชน์ในด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ เพราะมันบ่งบอกได้ถึงความอยู่รอดของคนในประเทศ และยังบอกได้ว่าประเทศนี้มีอำนาจที่จะปกครองตัวเองหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น หากประเทศ ก. ไม่มีความมั่นคง ตกเป็นประเทศราชของประเทศใดๆ นั่นแปลว่า ประเทศ ก. ไม่สามารถที่จะปกครองตนเองได้อย่างเป็นอิสระ
จากนั้น วิทยากรได้อธิบายเกี่ยวกับแนวคิดภูมิรัฐศาสตร์ ว่า เมื่อเราเรียนรู้ภูมิศาสตร์ของประเทศใด เราก็จะได้เรียนรู้นโยบายต่างประเทศของประเทศนั้นไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากประเทศ ก. อยู่ใกล้ประเทศไทย ถ้าหากเกิดสงครามขึ้นที่ประเทศ ก. คนก็จะอพยพเข้ามาในไทย เพื่อลี้ภัย และหางานทำ แต่หากประเทศ ก. อยู่ไกลจากชายแดนไทย เหตุการณ์นี้ก็จะไม่เกิดขึ้น จากตัวอย่างจึงสรุปได้ว่า ภูมิรัฐศาสตร์ สามารถบ่งบอกเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ด้วยการใช้หลักคิดนี้ และนำเอาไปวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิรัฐศาสตร์ ยังส่งผลต่อการถ่วงดุลอำนาจ ในแต่ละยุค เพราะหากไม่มีการถ่วงดุลอำนาจ ก็จะเกิดการผูกขาด และไม่มีการแข่งขันต่างๆเกิดขึ้น
จากนั้น วิทยากรได้อธิบายถึงบริบทที่แตกต่างของแต่ละประเทศ ในแต่ละยุค เพื่อชี้ให้เห็นว่า แต่ละประเทศ ล้วนแล้วแต่เห็นแก่ผลประโยชน์ของประเทศตนเองเป็นสำคัญ เช่น ในช่วงสงครามเย็น ที่ไทยต้องเป็นศัตรูกับจีน แต่เมื่อสงครามเย็นสงบลง ไทยก็หันมาค้าขายกับจีน เหตุการณ์นี้ ท่านสรุปว่า ในเรื่องการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ไม่มีอะไรที่สำคัญไปกว่า ผลประโยชน์ร่วมกัน และไม่มีมิตรแท้ หรือศัตรูที่ถาวรในการดำเนินนโยบาย มีสิ่งเดียวที่ถาวร คือ ผลประโยชน์ร่วมกัน
ท่านได้อธิบายถึงสงครามเย็น ว่า เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง สาเหตุที่เรียกว่า สงครามเย็น ก็เพราะว่า ประเทศที่เป็นผู้นำของทั้งสองฝ่าย นั่นคือ ฝ่ายโลกเสรี ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ และฝ่ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ ต่างก็หลีกเลี่ยงที่จะปะทะกันเอง เพราะต่างก็มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง จึงได้ให้ประเทศที่เป็นลูกข่ายของทั้งสองฝ่าย ออกไปรบกัน และการทำสงครามไม่มีการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ แต่โดยการกระทำแล้ว เรียกว่า การทำสงครามโดยผ่านตัวแทน สงครามเย็นครั้งนี้ ไม่ได้จำเพาะอยู่ที่การส่งกำลังทางทหารออกไปรบกัน แต่ยังรวมไปถึงสงครามทางเศรษฐกิจ การเมือง และอื่นๆ
เมื่อเกิดสงครามเย็น ทำให้เกิดการแบ่งแยกอำนาจออกเป็นสองขั้ว โดยอาศัยการถ่วงดุลอำนาจ แต่เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย สงครามเย็นก็ได้สิ้นสุดลง
จากนั้น ท่านได้อธิบายเกี่ยวกับอำนาจ ว่า อำนาจ มีสองอย่างคือ อำนาจแข็ง และอำนาจอ่อน อำนาจแข็งจะใช้เพื่อการบีบบังคับ โดยมีเครื่องมือหลักๆคือ ทหาร และเศรษฐกิจ โดยการใช้เศรษฐกิจในเชิงบีบบังคับคือ การคว่ำบาตร แต่อำนาจอ่อน คือ อำนาจในด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ข้อมูลข่าวสาร หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ ที่นำมาลงทุนในอีกประเทศ เพื่อให้คนในประเทศซึมซับ และมัวเมาอยู่ในสิ่งของเหล่านั้น อำนาจอ่อน ยังรวมไปถึงการขอความร่วมมือต่างๆ หรือขอความยินยอมให้ปฏิบัติตาม
สิ่งที่แตกต่างระหว่างอำนาจแข็งและอำนาจอ่อน ก็คือ อำนาจแข็ง ประเทศที่เป็นเป้าหมายในการใช้อำนาจชนิดนี้ จะต่อต้าน และไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจนานนัก อำนาจอ่อน ประเทศที่ตกเป็นเป้าหมายของอำนาจนี้ จะปฏิบัติตามด้วยความยินยอม และไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกอำนาจอ่อนครอบงำ ในเมื่อไม่รู้ตัวว่าถูกครอบงำและชี้นำให้คิด ให้ต้องการ ให้รู้สึกเช่นเดียวกันกับประเทศที่ใช้อำนาจอ่อนนี้ จึงทำให้มีผลอยู่เป็นระยะยาวมากกว่าอำนาจแข็ง
ความเหมือนและแตกต่างของช่วงสงครามเย็นและช่วงหลังสงครามเย็น สรุปได้ดังนี้
1. ในช่วงสงครามเย็น จะมีขั้วอำนาจแค่สองขั้ว แต่ช่วงหลังสงครามเย็น ได้เกิดการแบ่งแยกขั้วอำนาจออกเป็นหลายขั้ว
2. ในช่วงสงครามเย็น มีความยืดหยุ่นน้อยกว่าช่วงหลังสงครามเย็น ความยืดหยุ่น คือ การที่ให้ประเทศใดๆก็ตาม ไปผูกมิตรกับอีกประเทศ เพื่อเจริญสัมพันทไมตรี และทำการค้าขาย
3. ความเหมือนของสงครามเย็นและช่วงหลังสงครามเย็น คือ อำนาจสองขั้ว หรืออำนาจหลายขั้ว ก็ต้องอาศัยการถ่วงดุลย์อำนาจ
ท้ายที่สุด วิทยากรได้ฝากไว้ 5 ข้อ ถือเป็นการสรุปการบรรยายนี้ทั้งหมด
1. ผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ไม่ว่าประเทศนั้นจะเล็กหรือใหญ่ ก็คือ ผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคง
2. ปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการถ่วงดุลอำนาจ เป็นปัจจัยคงที่ และมีอิทธิพลชี้ขาด ในด้านการกำหนด และการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ
3. อิทธิพลของปัจจัยทางอุดมการณ์ ถือเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ซึ่งอุดมการณ์เป็นทั้งตัวสร้างความร่วมมือ และสร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศ
4. ความแตกต่างในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ไม่ใช่สิ่งสำคัญในการที่จะเกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ผลประโยชน์ร่วมกัน
5. อิทธิพลของโครงสร้างอำนาจ ถึงแม้จะเกิดขึ้นในบริบทที่แตกต่างกัน ก็ต้องใช้การถ่วงดุลอำนาจ และโครงสร้างอำนาจ ก็มีอิทธิพลยิ่งต่อการกำหนดนโยบายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในด้านความมั่นคงและการเมือง
สรุปและเรียบเรียงโดย: อัครเดช โคตนายูง
ภาพโดย: ผศ.ดร.ธนนันท์ บุ่นวรรณา
และภมร ภูผิวผา
ดาวน์โหลดฟรี เอกสารงานวิจัยเกี่ยวกับ นโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านในยุคสงครามเย็น โดย นายสุรพงษ์ ชัยนาม https://drive.google.com/file/d/115I1LtCvRg4cADfHFEx3M5Uk3vG_iV27/view
ดาวน์โหลดฟรี เอกสารงานวิจัยเกี่ยวกับ นโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านในยุคสงครามเย็น โดย นายสุรพงษ์ ชัยนาม https://drive.google.com/file/d/115I1LtCvRg4cADfHFEx3M5Uk3vG_iV27/view
No comments:
Post a Comment