โครงการสํารวจอดีตเมืองอาณานิคมตะวันตกในจังหวัดปีนังและกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใตศึกษาได้สนับสนุนให้อาจารย์ของหลักสูตรฯ จํานวน 3 ท่านเดินทางไปสํารวจข้อมูลใน  "โครงการ สํารวจอดีตเมืองอาณานิคมตะวันตกในจังหวัดปีนังและกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย"  ในระหว่างวันที่ 2-5 กรกฎาคม 2561

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจข้อมูลและสถานที่เบื้องต้นก่อนนํานักศึกษาเดินทางไปศึกษาและเก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการสํารวจและเก็บข้อมูลภาคสนามของอาจารย์ในหลักสูตร และเพื่อนําข้อมูลจากภาคสนามมาใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

โดยมีอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการนี้ 3 ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ อาจารย์ ดร.เบญจวรรณ นาราสัจจ์ และอาจารย์ ดร.จิราธร ชาติศิริ  ซึ่งมีรายละเอียดการเดินทางดังนี้

วันที่ 2 กรกฎาคม 2561

สํารวจวัดเก็กลกสี่ วัดพุทธลัทธิเต๋าที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในปีนัง และเป็นวัดทางพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นเดินทางไปชมวัดไชยมังคลาราม วัดไทยที่ผสมผสานศิลปะของไทย จีน และพม่า

วันที่ 3 กรกฎาคม 2561 

ศึกษาอิทธิพลของตะวันตกเมื่อปีนังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ จากป้อมปราการคอร์นเวลลิส (Fort Cornwallis) โบราณสถานที่สําคัญของปีนัง สร้างขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 โดยผู้ปกครองชาวอังกฤษ  และชมอาคารแบบโคโลเนียลอื่น ๆ ที่อังกฤษสร้างขึ้น เช่น ศาลาว่าการเมือง โบสถ์ และไปรษณีย์

สํารวจ KhooKongsi  บ้านของชาวจีนกลุ่มแรกจากมณฑลฮกเกี้ยนของจีนที่เดินทางเข้ามาใน ปีนัง ซึ่งปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม และพิพิธภัณฑ์ ทําให้เข้าใจวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ของชาวจีนในปีนังมากขึ้น

สํารวจจอร์จทาวน์ เขตบ้านเรือนเก่าแก่ สถาปัตยกรรมแบบจีนผสมยุโรป ซึ่งปัจจุบันมีการวาดภาพศิลปะสมัยใหม่ลงไปเพื่อพัฒนาให้เป็นเขตท่องเที่ยว

วันที่ 4 กรกฎาคม 2561

สํารวจวัดปิ่นบังอร วัดไทยในปีนัง ซึ่งมีความสําคัญมาช้านาน และเป็นสถานที่สําคัญทางประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากมีบุคคลสําคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยลี้ภัยทางการเมืองมาอยู่ที่จังหวัดปีนัง ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ทรงสิ้นพระชนม์ลง ได้ถวาย พระเพลิง ณ วัดแห่งนี้ และ เมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทยถึงแก่อสัญกรรม ก็ได้เก็บศพไว้ที่วัดนี้เช่นกัน ปัจจุบันยังคงมีอนุสรณ์สถานอยู่

จากนั้นเดินทางจากจังหวัดปีนังไปยังจังหวัดกัวลาลัมเปอร์ ศึกษาประวัติศาสตร์และพัฒนาการของเมืองกัวลาลัมเปอร์ที่เคแอลซิตี้แกลอรี พิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายกัวลาลัมเปอร์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สํารวจตึกแฝดเปโตรนาส สัญลักษณ์ของกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกอันดับที่ 16 และเป็นศูนย์กลาง เศรษฐกิจของมาเลเซีย

วันที่ 5 กรกฎาคม 2561 

สํารวจ ปุตราจายา เขตราชการใหม่ทางตอนใต้ของกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งประกอบด้วยมัสยิด สถานที่ราชการ และสนามกีฬา ปุตราจายาเป็นเมืองที่มีการออกแบบอย่างสวยงามและรองรับอนาคต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ในการวางแผนพัฒนาประเทศของผู้นํามาเลเซีย

ผลจากการดำเนินโครงการนี้ อาจารย์ผู้ร่วมโครงการได้ข้อมูลและสถานที่เบื้องตนก่อนนํานักศึกษาเดินทางไปสํารวจและเก็บข้อมูลภาคสนามพื้นที่มาเลเซีย โดยมีความเห็นว่าจังหวัดปีนังมีความเหมาะสมที่สุดที่จะนำนักศึกษามาศึกษาภาคสนาม ในฐานะที่เป็นอดีตเมืองอาณานิคมที่ยังมีโบราณสถานหลงเหลืออยู่เป็นจํานวนมาก และยังเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนั้นยังได้ข้อมูลต่างๆ ที่จะมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ของหลักสูตรต่อไป













No comments:

Post a Comment