Slideshow แนะนำหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา


หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2558) มีความมุ่งหมายที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในมิติประวัติศาสตร์ ภาษา สังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา โดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว หรือสารสนเทศ ด้วยพื้นฐานความรู้เชิงบูรณาการ การสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพร้อมสำหรับการทำงานข้ามวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการทำงานในหลากหลายสาขาวิชาชีพ ได้แก่ นักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา/อาเซียนศึกษา ผู้ช่วยสอน/อาจารย์ในสถาบัน การศึกษาของรัฐและเอกชน นักวิจัย นักเขียน นักวิจารณ์  บรรณาธิการ  นักสารสนเทศ ผู้สื่อข่าว ผู้ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวและสารคดี เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน เช่น กระทรวง องค์การมหาชนที่เกี่ยวข้องกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต/สถานกงสุลในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เป็นต้น

รับตรง 2559 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มข

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2558) เปิดรับตรง 2559

โดยจะเปิดรับสมัคร ในหมวดวิชาบังคับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ประจำปี 2559  รอบที่1 นักเรียนในภาคอีสาน ในวันที่ 12-18 มกราคม 2559 คะแนนที่ใช้ ภาษาไทย 30 สังคมศึกษา 30 และภาษาอังกฤษ 35

ระเบียบการรับตรง มข.

ระเบียบการรับสมัครเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวิธีรับตรง (โควตาภาคฯ รอบที่ 1) ประจำปีการศึกษา 2559 เข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่ https://apply.kku.ac.th/ หรือ ดาวน์โหลดไฟล์ pdf ได้ ที่นี่

รับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2559



หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2558) มีความมุ่งหมายที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในมิติประวัติศาสตร์ ภาษา สังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา โดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว หรือสารสนเทศ ด้วยพื้นฐานความรู้เชิงบูรณาการ การสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพร้อมสำหรับการทำงานข้ามวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการทำงานในหลากหลายสาขาวิชาชีพ ได้แก่ นักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา/อาเซียนศึกษา ผู้ช่วยสอน/อาจารย์ในสถาบัน การศึกษาของรัฐและเอกชน นักวิจัย นักเขียน นักวิจารณ์  บรรณาธิการ  นักสารสนเทศ ผู้สื่อข่าว ผู้ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวและสารคดี เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน เช่น กระทรวง องค์การมหาชนที่เกี่ยวข้องกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต/สถานกงสุลในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เป็นต้น

คุณลักษณะของบัณฑิต ตามหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา



ประเทศไทยได้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 เน้นในเรื่องของการเตรียมความพร้อมและการปรับตัวสู่บริบทโลกและภูมิภาค สร้างความร่วมมือแบบเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยในส่วนของอาเซียนจะเน้นเรื่องความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พัฒนาบุคลากรและเสริมสร้างสถาบันทางการศึกษาให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับระดับประเทศ  สถาบันการศึกษาของไทยจึงต้องมีความรวดเร็วก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนร่วมกันที่จะพัฒนาด้านเศรษฐกิจการศึกษา วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

มูลเหตุแห่งการพัฒนาหลักสูตร เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และพันธกิจของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาไทย ให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคมไทยและประชาคมอาเซียน ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้กำหนดเป็นส่วนหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัย (พ.ศ.2559-2562) ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ปัญหาในสภาพความเป็นจริงและสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่นำไปสู่นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ของประเทศและตลาดแรงงานอาเซียน

สถานการณ์ทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ที่นำมาสู่การพัฒนาหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา



นอกเหนือจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) แล้ว อีกเสาหลักหนึ่งใน 3 เสาของประชาคมอาเซียนคือ การจัดตั้งประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) เป้าหมายคือ การยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกด้านให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม พร้อมรับมือกับผลกระทบอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีสำนึกความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ มรดกทางวัฒนธรรมร่วมกัน

สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ ที่นำมาสู่การพัฒนาหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา



ภายในปี 2558  ประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเข้าสู่การเป็น “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกรวมกัน 10 ประเทศ มีประชากรมากกว่า 600 ล้านคนหรือเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดที่มีในโลก   และกำลังจะมุ่งสู่หนึ่งใน 3 เสาหลัก*  คือ